ขั้นตอนการเขียนสารคดี
จุดเริ่มต้นของการเขียนสารคดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงขั้นตอนของการเขียนเสียก่อน ซึ่งจะทำให้งานเขียนเป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบผลสำเร็จในที่สุด ค่ะ ซึ่งขั้นตอนการเขียนสารคดีก็มีหลายขั้นตอน ดังนี้ค่ะ
1.ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน การตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นของการเขียนสารคดี ทั้งนี้เพราะการเขียนสารคดีแต่ละเรื่อง ผู้เขียนย่อมมีจุดมุ่งหมายในการเขียนแตกต่างกันออกไป เช่น สารคดีบางเรื่องมีจุดมุ่งหมายเขียนเพื่อสำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่อ่าน ทั้งนี้เมื่อสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการสื่อสารได้แล้ว ก็จะมากลั่นกรองถึงเนื้อหา ภาษา และประเด็นในการนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน เป็นต้น
2.การเลือกเรื่อง หลังจากที่ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปก็เป็นการเลือกเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีจะมีหลักเกณฑ์ที่ต้องพิจารณา หลายประการ คือ
2.1
เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความถนัดและให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ
2.2 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีประสบการณ์
2.3 เลือกเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
2.4 เลือกเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคม กลุ่มคน
2.5 อื่นๆ ตามที่ผู้เขียนจะพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเขียนเผยแพร่
3. มองหาเนื้อเรื่องที่จะเขียน บางครั้งผู้เขียนสามารถเลือกเรื่องได้แล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีเนื้อเรื่องที่จะเขียน ทั้งนี้วิธีง่ายๆ ที่จะมองหาเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีนั้นขอให้นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และรู้เรื่องนั้นดีที่สุดมาเขียนให้ผู้อื่นได้อ่าน
4. การตั้งชื่อเรื่อง หลังจากได้เนื้อเรื่องมาแล้ว ให้คิดตั้งชื่อเรื่องเป็นอันดับแรก เพราะเหตุว่าชื่อเรื่องจะเป็นแนวกำหนดหรือเป็นแนวความคิดรวบยอดให้ทราบว่าเรากำลังจะเขียนสารคดีไปในแนวทางไหนซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
5. การรวบรวมข้อมูล เมื่อสามารถกำหนดหัวชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการเขียนสารคดี โดยข้อมูลที่ได้มาจาก 2 แห่ง คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) คือ ข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดของเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนประสบมาโดยตรง ด้วยการสนทนา สอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น และข้อมูลทุติยะภูมิ (secondary source) คือ ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงนับว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี
6. การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดว่าเรื่องที่เขียนนั้นจะเขียนถึงอะไรบ้าง มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ คือ ความนำ (introduction) ต้องขึ้นต้นให้น่าสนใจ ,เนื้อเรื่อง (body or text) ต้องมีความหมายน่ารู้ น่าศึกษา สรุปเรื่อง (conclusion) ต้องตรงประเด็น
7. การลงมือเขียน เป็นขั้นฝึกปฏิบัติด้วยการลงมือเขียน ทั้งนี้สารคดีจะน่าอ่านหรือไม่น่าอ่านนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การใช้ภาษาเป็นสำคัญ และภาษาที่ใช้ในงานเขียนสารคดีจะต้องเป็นภาษาแบบแผนซึ่งมีลักษณะ เป็นคำสุภาพ , ใช้ภาษาที่มีศักดิ์ของคำในระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาแสลงเข้ามาใช้ปะปนในงานเขียน, ไม่มีการตัดหรือลดทอนรูปประโยค, น้ำเสียงของคำจะมีลักษณะเคร่งขรึมเป็นกลาง ไม่ตลกขบขัน ไม่เยาะเย้ย ถากถาง ภาษาต้องไม่แสดงออกถึงความรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นโวหาร ยืดเยื้อ รวมทั้งมีความเคร่งครัดและรักษามาตรฐานของภาษา
2.2 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีประสบการณ์
2.3 เลือกเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
2.4 เลือกเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคม กลุ่มคน
2.5 อื่นๆ ตามที่ผู้เขียนจะพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเขียนเผยแพร่
3. มองหาเนื้อเรื่องที่จะเขียน บางครั้งผู้เขียนสามารถเลือกเรื่องได้แล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีเนื้อเรื่องที่จะเขียน ทั้งนี้วิธีง่ายๆ ที่จะมองหาเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีนั้นขอให้นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และรู้เรื่องนั้นดีที่สุดมาเขียนให้ผู้อื่นได้อ่าน
4. การตั้งชื่อเรื่อง หลังจากได้เนื้อเรื่องมาแล้ว ให้คิดตั้งชื่อเรื่องเป็นอันดับแรก เพราะเหตุว่าชื่อเรื่องจะเป็นแนวกำหนดหรือเป็นแนวความคิดรวบยอดให้ทราบว่าเรากำลังจะเขียนสารคดีไปในแนวทางไหนซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
5. การรวบรวมข้อมูล เมื่อสามารถกำหนดหัวชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการเขียนสารคดี โดยข้อมูลที่ได้มาจาก 2 แห่ง คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) คือ ข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดของเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนประสบมาโดยตรง ด้วยการสนทนา สอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น และข้อมูลทุติยะภูมิ (secondary source) คือ ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงนับว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี
6. การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดว่าเรื่องที่เขียนนั้นจะเขียนถึงอะไรบ้าง มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ คือ ความนำ (introduction) ต้องขึ้นต้นให้น่าสนใจ ,เนื้อเรื่อง (body or text) ต้องมีความหมายน่ารู้ น่าศึกษา สรุปเรื่อง (conclusion) ต้องตรงประเด็น
7. การลงมือเขียน เป็นขั้นฝึกปฏิบัติด้วยการลงมือเขียน ทั้งนี้สารคดีจะน่าอ่านหรือไม่น่าอ่านนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การใช้ภาษาเป็นสำคัญ และภาษาที่ใช้ในงานเขียนสารคดีจะต้องเป็นภาษาแบบแผนซึ่งมีลักษณะ เป็นคำสุภาพ , ใช้ภาษาที่มีศักดิ์ของคำในระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาแสลงเข้ามาใช้ปะปนในงานเขียน, ไม่มีการตัดหรือลดทอนรูปประโยค, น้ำเสียงของคำจะมีลักษณะเคร่งขรึมเป็นกลาง ไม่ตลกขบขัน ไม่เยาะเย้ย ถากถาง ภาษาต้องไม่แสดงออกถึงความรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นโวหาร ยืดเยื้อ รวมทั้งมีความเคร่งครัดและรักษามาตรฐานของภาษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น