pearleus

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มารู้จักบทบรรณาธิการให้เพิ่มขึ้นกันดีกว่า

มารู้จักบทบรรณาธิการให้เพิ่มขึ้นกันดีกว่า
   สวัสดีค่ะ  ท่านผู้อ่านที่รักทุกคน  มาแล้วค่ะ  มาพร้อมกับเรื่องราว  สาระดีมีประโยชน์  ที่นี่ที่เดียว  ไม่ใช่โฆษณาขายของนะคะ  แต่เป็นความตั้งใจที่อยากให้แต่สิ่งดีๆ กับคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ  ครั้งที่แล้วผู้เขียนได้เสนอเรื่องราวความรู้เล็ก ๆ น้อยๆ เกี่ยวกับบทบรรณาธิการไปบ้างแล้ว  ครั้งนี้เลยขอเพิ่มเติมความรู้กันหน่อยนะคะ  ก็อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่าบทบรรณาธิการมีความสำคัญต่อผู้อ่าน  และก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้เขียนด้วยว่าต้องการนำเสนออะไร  เพื่อใคร  ดังนั้นเราจึ้งต้องทราบถึงบทบาทและหน้าที่ที่ดีของผู้เขียนบทบรรณาธิการก่อนนะคะว่าเป็นอย่างไร
1. บทบาทของบรรณาธิการ
 1.1  เป็นแหล่งอุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  วารสาร  ในการชี้นำสังคม
 1.2  เปิดโอกาสให้ประชาชนโต้แย้งถกเถียงได้ตามบรรยากาศประชาธิปไตย
 1.3  เป็นตัวแทนในการลำดับความสำคัญของเหตุการณ์  ที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยการสร้างความเข้าใจ  ขจัดความสับสนจากการรายงานข่าวต่าง ๆ ในสังคม
 1.4  ช่วยทำให้ผู้อ่านทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวอย่างละเอียด
 1.5   เป็นผู้ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม   ปกป้องเสรีภาพของประชาชน
 1.6  กระตุ้น  ปลูกฝังให้มีการแสดงออกในทรรศนะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความหนักแน่น  ในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง
2.  หน้าที่ของบรรณาธิการ
  2.1  เป็นสื่อในการแสดงออกโดยมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสังคม
  2.2  ช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
  2.3  เป็นส่วนช่วยสร้างความสมดุลในการรายงานข่าว
  2.4  เป็นแหล่งที่สามารถช่วยยกระดับความรู้  ความคิดของผู้อ่าน
  2.5  เป็นผู้นำทางความคิด  และเป็นสื่อกลางของสังคม
  2.6  เป็นผู้ทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับสื่อมวลชน  ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
 หลังจากที่เพื่อน ๆ ได้อ่านบทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการไปกันแล้ว  รู้สึกว่ายิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อสังคมไทยมากเลยใช่มั้ยคะ  พิมพ์อักษรก็รู้สึกแบบนั้นเหมือนกันค่ะ  แต่ก็ดีนะคะทำให้เรารู้สึกภูมิใจจังเลย  ว่าถ้าเราได้มีหน้าที่เขียนบทบรรณาธิการก็คงจะดีมากเลย  เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะได้มีหน้าที่เขียนบทบรรณาธิการ  เราก็ต้องเริ่มฝึกให้เก่งกันตั้งแต่วันนี้เลยเป็นไงค่ะ  งั้นผู้เขียนขอเพิ่มเติมข้อมูลบางอย่างสำหรับวันนี้นะคะ  ก็คือลักษณะบทบรรณาธิการที่ดีนั้นต้อง

1.  ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต้องมีความถูกต้องและชัดเจน
 2.  เรื่องที่เขียนควรอยู่ในกระแสหรือเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป
 3.  เนื้อหาสาระต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
 4.  มีเหตุผลสนับสนุนน่าเชื่อถือ
 5.  เขียนด้วยความเป็นกลาง  ไม่ลำเอียง  เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
 6.  ใช้ภาษาที่สุภาพ 
 7.  มีวัตถุประสงค์การเขียนที่ชัดเจน
 8.  มีการแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง  ไม่ขาดตอน
 นี่ล่ะค่ะเพื่อน ๆ คือลักษณะของการเขียนบทบรรณาธิการที่ดี  หวังว่าคงไม่ยากเกินความสามารถนะคะ  ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนเริ่มหัดเขียนและเขียนให้สนุกนะคะ  ไปแล้วค่ะ