pearleus

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเขียนบทความ

การเขียนบทความ

ความหมายและลักษณะของบทความ
นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้กล่าวถึงความหมายของบทความ และลักษณะที่น่าสังเกตของบทความในหนังสือพิมพ์ไว้ พอสรุปได้ว่า บทความ หมายถึง เรื่องที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง ความรู้ เสนอความคิดเห็น แตกต่างจากบันเทิงคดี บทความในหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ จะมีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก ใช้ย่อหน้าสั้นๆ นำเรื่องพื้นๆ ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วมาตีพิมพ์ หรือนำเรื่องเล็กๆ ที่คนมองข้ามมาเติมสีสันให้น่าอ่าน บทความอาจมีการเน้นเนื้อหาที่ตัวเหตุการณ์และแนวโน้มในอนาคต
ฉะนั้น บทความจึงเป็นความเรียงประเภทหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์หลายลักษณะ เช่น เพื่อแสดงความรู้ เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์วิจารณ์ ฯลฯ โดยต้องเขียนอย่างมีหลักฐาน มีเหตุผล น่าเชื่อถือ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์

ประเภทของบทความ
เมื่อแบ่งตามเนื้อหา บทความจะแบ่งได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่
1.  บทบรรณาธิการ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นลักษณะหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2.  บทความสัมภาษณ์  เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง หรือเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลนั้น หรือจากการสัมภาษณ์บุคคลหลายคนในหัวข้อเดียวกัน
3.  บทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป มีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหา เหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุน หรือคัดค้าน หรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น
4.  บทความวิเคราะห์  เป็นบทความแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่งซึ่งผู้เขียนจะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เผยแพร่มาแล้วอย่างละเอียด โดยแยกแยะให้เห็นส่วนต่างๆ ของเรื่องนั้น ผู้เขียนเสนอความคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์เรื่องราวนั้นอย่างละเอียด แสดงข้อเท็จจริง เหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม เกิดความคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งเป็น บทความวิเคราะห์ข่าว และบทความวิเคราะห์ปัญหา
5.  บทความวิจารณ์  เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์เรื่องราวที่ต้องการวิจารณ์ด้วยเหตุผลและหลักวิชาเป็นสำคัญ เช่น บทบรรณนิทัศน์ซึ่งแสดงความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่พิมพ์ออกใหม่ เพื่อแนะนำหนังสือ บทวิจารณ์วรรณกรรมแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์และประเมินค่าโดยใช้หลักวิชาและเหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และ บทวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับบทวิจารณ์วรรณกรรมแต่นำผลงานที่เป็นศิลปะแขนงอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ภาพเขียน ดนตรี มาวิจารณ์
6.   บทความสารคดีท่องเที่ยว  มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีทัศนียภาพสวยงามหรือมีความสำคัญในด้านต่างๆ เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ชักชวนให้สนใจไปพบเห็นสถานที่นั้นๆ
7.  บทความกึ่งชีวประวัติ  เป็นการเขียนบางส่วนของชีวิตบุคคลเพื่อให้ผู้อ่านทราบ โดยเฉพาะคุณสมบัติ หรือผลงานเด่นที่ทำให้บุคคลนั้นมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในชีวิต เพื่อชื่นชม ยกย่อง เจ้าของประวัติ และชี้ให้ผู้อ่านได้แง่คิดเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ
8.  บทความครบรอบปี  มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ พิธีการในเทศกาลหรือวันสำคัญ เช่น วันสำคัญทางศาสนา ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม  เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ เป็นต้น ที่ประชาชนสนใจเมื่อโอกาสนั้นมาถึง เช่น  วันวิสาขบูชา วันคริสต์มาส
เป็นต้น
9.  บทความให้ความรู้ทั่วไป  ผู้เขียนจะอธิบายให้ความรู้คำแนะนำในเรื่องทั่วๆ ไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มารยาทการเข้าสังคม การแต่งกายให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคลิกภาพ เคล็ดลับการครองชีวิตคู่ เป็นต้น
10.  บทความเชิงธรรมะ  จะอธิบายข้อธรรมะให้ผู้อ่านทั่วๆ ไปเข้าใจได้ง่าย หรือให้คติ ให้แนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธศาสนา เสนอหนทางแก้ปัญหาตามแนวพุทธปรัชญา ปัจจุบันบทความลักษณะนี้มีมากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านมีแนวทางการดำเนินชีวิตในสังคมที่วิกฤตได้อย่างปกติสุขมากขึ้น
11.  บทความวิชาการ  มีเนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนอาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการหรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ก็ได้ หรืออาจเสนอผลการวิจัย

การใช้ภาษาในการเขียนบทความ
การใช้ภาษาในการเขียนบทความควรพิจารณาใน 3 ประเด็น ได้แก่
1.  ระดับภาษา
การเขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ควรพิจารณาใช้ระดับภาษาทั้ง 4 ระดับ ได้แก่ ภาษาปาก ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษากึ่งทางการ และภาษาทางการ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของผู้เขียน ประเภทของบทความ เนื้อหา และกลุ่มผู้อ่านเช่น กรณีที่เขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ ควรใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ จนถึงภาษาพูดและภาษาเขียนระดับกึ่งทางการ หากมีบางตอนหรือบางข้อความที่ต้องการแสดงอารมณ์ ประชดประชัน เหน็บแนม อย่างชัดเจน อาจจะใช้ภาษาพูดระดับภาษาปาก ที่ไม่หยาบคายก็ได้
กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป บทความสารคดีท่องเที่ยว ควรใช้ภาษาพูดในระดับภาษาปาก เพื่อให้เกิดความเป็นกันเองกับผู้อ่าน จูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำ หรืออาจจะใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ หรือกึ่งทางการ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทความ และกลุ่มผู้อ่านอีกด้วย
กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ให้สัมภาษณ์ และเรื่องราวที่สัมภาษณ์ รวมทั้งกลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนจึงสามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตั้งแต่ ภาษาพูดระดับภาษาปาก จนถึงภาษาเขียนระดับทางการ
กรณีเขียนบทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม บทความวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆ ซึ่งต้องการความน่าเชื่อถือ และให้เกียรติแก่งานวรรณกรรมหรือศิลปะ จึงควรใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ จนถึงภาษาในระดับทางการ
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ และเชิงวิชาการ ควรใช้ภาษาเขียนกึ่งทางการจนถึงระดับทางการ เพื่อให้เกิดความชัดเจน น่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม หากผู้เขียนต้องการสร้างเอกลักษณ์ หรือลีลาการเขียนเฉพาะตน ก็สามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตามความต้องการของตนเอง
2.  โวหาร
กรณีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา ควรใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบ เช่น อุปมาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร เป็นต้น เพื่อแสดงเหตุผลโน้มน้าวใจผู้อ่าน
กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนแจ่มแจ้ง
กรณีเขียนบทความสารคดีท่องเที่ยว บางตอนควรเลือกใช้พรรณนาโวหาร เพื่อให้เห็นความงดงามของทัศนียภาพ นอกเหนือจากการใช้บรรยายโวหาร ส่วนโวหารประกอบได้แก่ อุปมาโวหาร สาธกโวหาร กรณีที่ต้องการเล่าเกร็ดความรู้ ตำนาน นิทานต่างๆ ประกอบสถานที่
กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ บทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม หรือศิลปะแขนงอื่นๆ  บทความวิชาการ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร และสาธกโวหาร
3.  ภาพพจน์
การเขียนบทความควรเลือกใช้ภาพพจน์เพื่อสร้างภาพให้เกิดในความคิด ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้อ่าน รวมทั้งแสดงอารมณ์ ความรู้สึกอย่างแท้จริงของผู้เขียน ภาพพจน์จะทำให้งานเขียนมีอรรถรสมากขึ้น และแสดงลีลาการเขียนของผู้เขียนแต่ละคน บทความทุกชนิดสามารถใช้ภาพพจน์ได้ตามความเหมาะสม เช่น
บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา มักจะใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิภาคพจน์ อติพจน์ ปฏิปุจฉา นามนัย เป็นต้น
บทความสารคดีท่องเที่ยว มักจะเลือกใช้ภาพพจน์เช่น อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัญลักษณ์ เป็นต้น
ส่วนบทความชนิดอื่นๆ มักจะเลือกใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิปุจฉา เป็นต้น แต่บทความวิชาการมักจะไม่ใช้ภาพพจน์ในการเขียนบทความประเภทนี้ เพราะต้องการแสดงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน มากกว่าจะให้เกิดภาพ หรืออรรถรส

ลักษณะของบทความที่ดี
บทความที่ดีควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้
1.  มีเอกภาพ กล่าวคือ เนื้อหาของบทความมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีทิศทางของเนื้อหาเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ
2.  มีสารัตถภาพ กล่าวคือ ผู้เขียนต้องเน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่าต้องการนำเสนอแนวคิดสำคัญอะไร ด้วยประโยคใจความสำคัญ หรือสาระสำคัญที่โดดเด่น เนื้อความตลอดเรื่องควรกล่าวย้ำประเด็นหลักของเรื่องเสมอๆ
3.  มีสัมพันธภาพ กล่าวคือ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ทั้งในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำ ข้อความ และการจัดลำดับเรื่อง ทุกประโยคในแต่ละย่อหน้า และทุกย่อหน้าในแต่ละเรื่องต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้คำเชื่อมข้อความ ได้แก่ คำบุพบท เช่น กับ แต่ แด่ เพื่อ คำสันธาน เช่น และ รวมทั้ง ตลอดจน นอกจากนี้ คำประพันธสรรพนาม เช่น ที่ ซึ่ง อัน เป็นต้น
4.  มีความสมบูรณ์  กล่าวคือ มีความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหา มีเนื้อความชัดเจนกระจ่างแจ้ง อธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง หากเป็นความคิดเห็นต้องมีความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ต้องมีความสมบูรณ์ด้านการใช้ภาษา คือ ต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายการเขียน  ประเภทของบทความ เนื้อหาบทความ และกลุ่มผู้อ่าน นั่นเอง



ขั้นตอนการเขียนบทความ
                1.  การเลือกเรื่อง ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
                -   เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เป็นที่น่าสนใจ และคนส่วนใหญ่กำลังสนใจ ทันสมัย ทันเหตุการณ์
                -   เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความรู้ มีประสบการณ์ ตลอดจนเป็นเรื่องที่ผู้เขียนต้องการเสนอความคิดแก่ผู้อ่าน
                -   เลือกเรื่องที่ผู้เขียนสามารถหาแหล่งค้นคว้า หรือหาข้อมูลมานำเสนอในงานเขียนได้
                -   เลือกเรื่องที่มีความยาว ความยาก ความง่าย พอเหมาะกับความสามารถของผู้เขียน เวลาที่ได้รับมอบหมาย หน้ากระดาษ และคอลัมน์ที่ตนรับผิดชอบ
                2.  กำหนดจุดมุ่งหมาย  โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าเขียนเพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้ เสนอความเห็น โน้มน้าวใจ ให้แนวคิดในการดำเนินชีวิต เขียนให้ใครอ่าน เช่น กลุ่มมวลชน กลุ่มผู้มีการศึกษาสูง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เป็นต้น
                3.  กำหนดแนวคิดสำคัญ หรือประเด็นสำคัญ หรือแก่นเรื่อง  ต้องกำหนดว่าบทความเรื่องนี้จะเสนอแนวคิดสำคัญ หรือมีแก่นเรื่องอะไรให้แก่ผู้อ่าน เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหา ถ่ายทอดถ้อยคำประโยคต่างๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น
                4.  ประมวลความรู้ ความคิด  ต้องค้นคว้าหาข้อมูลให้เพียงพอที่จะเขียน จากแหล่งความรู้ต่างๆ หรือการสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น
                5.  วางโครงเรื่อง  กำหนดแนวทางการเขียนว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ แยกเป็นกี่ประเด็น ประเด็นใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อยๆ มีตัวอย่าง มีเหตุผล เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้ง่าย ไปในทิศทางที่ต้องการ ไม่สับสน ไม่กล่าวซ้ำซาก ไม่นอกเรื่อง
                6.  การเขียน ได้แก่
-  การเขียนขยายความให้ข้อมูลในแต่ละประเด็น มีการอธิบาย ยกเหตุผลประกอบ กล่าวถึงข้อมูลประกอบ อาจเป็นสถิติ ตัวเลข ตัวอย่างเหตุการณ์ ตำนาน นิทาน เป็นต้น
                                -  เขียนคำนำและสรุปด้วยกลวิธีที่เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาบทความ
                                -   การใช้ภาษา ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับจุดมุ่งหมาย การเขียน ประเภท เนื้อหา ดังที่กล่าวมาแล้ว
                                -  การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว  สร้างได้โดยการเลือกใช้ภาษาให้เป็นเอกลักษณ์ เช่นการใช้ระดับภาษาปาก เล่นคารมโวหาร มีคำเสียดสี มีการแสดงความรู้สึกอย่างชัดเจน หรือมีการสร้างคำใหม่มาใช้อยู่เสมอๆ เป็นต้น


ตัวอย่างบทความ
                                                                                                                     ( สุชัญญา  วงค์เวสช์  เรียบเรียง)

วัยรุ่นกับความรุนแรง

                นับจากต้นปีที่ผ่านมา จะมีข่าวที่วัยรุ่นก่อความรุนแรงมากมาย  เช่น ข่าวที่วัยรุ่นใช้ปืนยิงเพื่อนนักเรียนเสียชีวิต  ยกพวกตีกันระหว่างสถาบัน  และล่าสุด คือเมื่องานคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีวัยรุ่นประมาณ  1,000  คน ยกพวกตีกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิต  2  ราย   ปัญหาเหล่านี้ จัดว่าเป็นปัญหาทางสังคม ที่นับวันได้มีแนวโน้มที่แสดงออกถึงการทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
                วัยรุ่นเป็นวัยที่ผู้คนมักเรียกกันว่า  วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  เพราะวัยนี้พยายามที่จะค้นหาความเข้าใจในตนเอง ยิ่งในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้โลกทัศน์ของวัยรุ่นกว้างขึ้น  บางคนก็ค้นพบตนเองในทางที่ถูกต้อง  แต่บางคนกลับหันเหไปในทางที่ผิด ทำให้เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่เราเห็นในปัจจุบัน
                ถ้าจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นในขณะนี้  คิดว่าคงจะมีสาเหตุมาจากหลายๆด้าน  ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของวัยรุ่น  สภาพครอบครัว  สภาพสังคมต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมของวัยรุ่นผ่านสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์  วีดีโอ  เกม  ที่ล้วนมีผลต่อความรุนแรง  เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว
                สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น  ก็คือครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น    ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น  ความสัมพันธ์กับบุคลในครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น และมักจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันเสมอๆ  เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอิสระ   ไม่อยากให้ใครมาบังคับ และต้องการเป็นตัวของตัวเอง  ดังนั้นส่วนสำคัญที่สุด คือพ่อ แม่ ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก  ควรให้คำปรึกษา เข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้  ไม่ขัดขวาง ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการค้นหา แต่ควรให้คำปรึกษาที่ดี  เพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ
                โดยทั่วไปแล้วเด็กวัยรุ่นมักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอ ทำให้หันเหชีวิตไปหาเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มเพื่อนจึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่วัยรุ่นให้ความสำคัญเหนืออื่นใดจึงเกิดการเกาะติดความเป็นพรรค เป็นพวก สืบเนื่องไปจนถึงความเป็นสถาบัน  และยึดถือปฏิบัติกฎเกณฑ์ที่รุ่นพี่ในสถาบันตั้งขึ้น  เราจึงเห็นกลุ่มวัยรุ่นต่างสถาบันยกพวกตีกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่  รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน 
                จากสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา  ทำให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็กเมื่อเขาโตขึ้นและย่างเข้าสู่วัยรุ่น พ่อ แม่ต้องเป็นส่วนสำคัญในการชี้แนวทางการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง  และต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่น   ไม่ดุด่า  หรือปล่อยจนเกินไป  เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทำให้วัยรุ่นกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว  และตีตัวออกห่างจากครอบครัว ไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ และเลือกเดินในแนวทางที่ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน


วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Buddhism teaches karma.

Buddhism teaches karma. 
Karma means "imprint". 


In other words, everything you do, say, think and feel sets imprints inside yourself. Every second you are alive, you are either creating new imprints in yourself or you are strengthening existing imprints made previously by you. 
In turn, you are drawn to situations that match your imprints. You draw situations to you that match your imprints. This is how the world responds to us .. us as we have made ourselves. There is no "higher power" to karma. 

Coincidence? No .. it is the causes and consequences that we have created for ourselves .. our inner imprints. 
Is there a reason? Like a "meaning" or "lesson"? No. It is just "is". 

Sort of like gravity. If you step off a cliff, you fall. When you step off the cliff, you set in motion the causes and conditions to fall. There is no coincidence to this, no meaning, no lesson. It's just the way things happen. 

So if you feel angry and you feed your anger by dwelling on it, even more by acting on it .. over time you become a very angry person. At least, there are strong imprints in your brain, strong pathways for "anger" to run along. 
In turn, those people who are kind and laid-back will become uneasy around you (they will sense your anger, as their unconscious minds will pick up on your subtle subliminal signals of impatience and anger) .. and they will avoid you. Instead, you will attract other angry people, and your experiences with these people will be different from the experiences you would have had with the kind, laid-back people. 
This is the way karma works. You make it yourself, and you can change what imprints you make within yourself 
too.

Read my other articles here

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเขียนบทบรรณาธิการง่ายกว่าที่คิด

การเขียนบทบรรณาธิการง่ายกว่าที่คิด
       สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ทั้งหลาย  เผลอแป๊บเดียวนี่ก็ใกล้จะหมดปี 2556แล้ว  สงสัยจะจริงเหมือนที่ผู้ใหญ่เค้าพูดกันว่า  เวลาผ่านไปเร็วเหมือนโกหกเลย  แล้วอย่างนี้จะไม่ให้พวกเราแก่เร็วได้อย่างไร  จริงไหมคะเพื่อน ๆ    อุ๊ย อย่าพิ่งทำหน้าบึ้งกันสิคะ  แค่ล้อเล่นหน่อยเดียวเอง  ทราบค่ะว่าทุกคนกลัวแก่   ผู้เขียนเองก็กลัวเหมือนกันค่ะ  แต่ใครจะหยุดเวลาได้  จริงไหมคะ
ก็ต้องยอมรับล่ะค่ะว่าต่อไปเราทุกคนก็ต้องแก่กันหมด  แต่ ขอแก่แบบมีคุณค่านะคะ  ไม่ยอมแก่แบบไร้คุณค่าแน่นอนค่ะ  เพราะฉะนั้นถ้าใครไม่อยากแก่แบบไร้คุณค่า  ก็รีบเข้ามาทางนี้ได้เลยค่ะ  เพราะเรื่องที่ นำมาบอกกล่าวกันนั้น  รับรองค่ะว่ามีสาระครบถ้วน   ไม่ตกยุคแน่นอนค่ะ  เรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าค่ะ  เรื่องก็มีอยู่ว่า จะขอขยายความเกี่ยวกับบทบรรณาธิการเพิ่มเติมให้อ่านกัน  โดยครั้งนี้ขอเสนอประเภทของบทบรรณาธิการค่ะ
ในการเขียนบทบรรณาธิการมีหลากหลายประเภท  แล้วก็สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ค่ะ
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ
 1.1  ประเภทเสนอข่าว  เป็นบทบรรณาธิการที่มีลักษณะย้ำข่าวหรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจในช่วงนั้น  โดยไม่มีการอธิบายหรือตีความมากนัก  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าไม่มีเวลาพอที่จะพิจารณา  หรือตัดสินใจอย่างแน่นอนว่าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารของตนเองจะมีจุดยืนอย่างไร


1.2  ประเภทให้ข่าวสารและคำอธิบายขยายความ  เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนต้องการให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  โดยให้รายละเอียดเพิ่มเติมและมีการอธิบายขยายความอย่างเป็นลำดับขั้นตอน  และชี้ประเด็นที่สำคัญที่มีแง่มุมบางอย่างที่ซับซ้อน  หรือเข้าใจยาก  บทบรรณาธิการประเภทนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านเกิดปฏิกิริยาหรือเป็นการกระตุ้นความคิด  เพียงแต่ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาและวิเคราะห์ได้ถูกวิธีเท่านั้นเองค่ะ
 1.3  ประเภทแสดงความคิดเห็น  เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นต่อข่าวหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่  ซึ่งการแสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นการสนับสนุนหรือโต้แย้งก็ได้  แต่ยังไม่มีการให้ข้อเสนอแนะแต่อย่างใด
 1.4  ประเภทแสดงทัศนะและเสนอแนะ  เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนนอกจากจะแสดงความคิดเห็นแล้ว  ยังต้องมีการให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา  เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อความรับผิดชอบนั้น ๆ และผู้อ่านได้รับทราบและนำไปพิจารณาต่อไป

1.5  ประเภทโน้มน้าวและเรียกร้องให้เกิดการกระทำ  เป็นบทบรรณาธิการที่เขียนขึ้นเพื่อต้องการโน้มน้าวและเรียกร้องให้เกิดพฤติกรรมที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดของบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  แต่ว่าผู้เขียนจะต้องชี้ให้เห็นด้วยว่าปัญหาของเหตุการณ์นั้นรุนแรงเพียงใด 

 1.6 ประเภทชี้แจงหรือแถลงนโยบาย  เป็นบทบรรณาธิการในลักษณะการชี้แจงหรือแถลงนโยบายต่อจุดยืนของหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารนั้น ๆ


  1. แบ่งประเภทตามเนื้อหาของบทบรรณาธิการ  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท  ดังนี้
     2.1  ประเภทการเมือง  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง  ทั้งการเมืองระดับท้องถิ่น  ระดับชาติ  ระดับระหว่างประเทศ
     2.2  ประเภทสังคม  เช่น ปัญหาแรงงาน  ยาเสพติด  อาชญากรรม  การขายบริการทางเพศ  เด็กเร่ร่อน  เป็นต้น
     2.3  ประเภทเศรษฐกิจ  เช่น  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาทางการค้าและการลงทุนต่าง ๆ ทั้งในและระหว่างประเทศ  เช่น  การนำเข้า-ส่งออกสินค้า  การขึ้นราคาน้ำมัน  ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก  เป็นต้น
     2.4  ประเภทเจาะหาความจริง  เป็นบทบรรณาธิการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงบางอย่างที่มีเงื่อนงำ  ซับซ้อน  น่าสงสัย  เช่น  ปัญหาการทุจริตการรับเหมาสัมปทานของรัฐ  เพื่อมาตีแผ่ให้ประชาชนทราบทั่วกัน
.5  ประเภททั่วไป  ซึ่งจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประชาชนส่วนใหญ่  เช่น  ปัญหามลภาวะ  ปัญหาการจราจร
2.6  ประเภททั่วไป  เป็นบทบรรณาธิการที่เขียนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดสำนึกต่อความรับผิดชอบในสังคม 


เช่น  การรณรงค์ให้ประชาชนไม่ขับรถขณะมึนเมา  การรณรงค์ให้ประชาชนใช้พลังงานทดแทน  การรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เป็นต้น

 ไม่น่าเชื่อใช่มั้ยคะว่าบทบรรณาธิการมีหลายประเภทเลย  แต่ คิดว่าเพื่อน ๆ คงไม่สับสนนะคะ  เพราะว่าแยกหัวข้อต่าง ๆ ไว้ให้อย่างชัดเจนแล้ว  และที่สำคัญก็คือการเขียนบทบรรณาธิการไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ  มาติดตามครั้งหน้ากันนะคะว่า จะนำเรื่องอะไรมาเล่าให้เพื่อน ๆ อ่านกันอีก

  1.  

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบทบรรณาธิการ

ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบทบรรณาธิการ

  นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อการเขียนบทบรรณาธิการ เพื่อให้งานเขียนมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือในการรับรู้ของผู้อ่าน ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอน ดังนี้
  1.การประชุมกองบรรณาธิการ เป็นการพบปะระหว่างสมาชิกในกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณาและปรึกษาหารือถึงเรื่องที่มีคุณค่าเหมาะสมกับการนำมาเขียนเป็นบทบรรณาธิการรวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผล ในจุดยืนที่ควรแสดงออก
  2.การเลือกเรื่องหรือประเด็นปัญหา ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของส่วนรวมโดยตรง
  3.การตั้งวัตถุประสงค์ หมายถึง การกำหนดเป้าหมายของการเขียนเรื่องนั้นๆ เช่น เพื่อ โน้มน้าว ชักจูงใจ หรือเพื่อกระตุ้น เป็นต้น  ที่สำคัญการตั้งวัตถุประสงค์จะเป็นการช่วยให้ผู้เขียนสามารถเลือกใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม เข้าถึงกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย อีกทั้งยังช่วยให้การแสดงเหตุผลมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
  4.การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย เป็นการกำหนดว่าบทบรรณาธิการที่เขียนนั้นต้องการสื่อไปยังกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายใด และเมื่อสามารถกำหนดเป้าหมายได้แล้วก็จะช่วยให้ผู้เขียนสามารถใช้ภาษาและลีลาการเขียนที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่านนั้นๆ ที่สำคัญผู้เขียนจะต้องคำนึงด้วยว่าเนื้อหาที่สื่อไปนั้นผู้อ่านเข้าใจหรือไม่
  5.การรวบรวมข้อมูล ไม่ว่าจะเขียนสิ่งใดก็ตาม จำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อสนับสนุนหรืออ้างอิงในข้อเขียน ดังนั้นการรวบรวมและการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียนจึงมีความสำคัญอย่างมาก
  6.การวิเคราะห์ข้อมูลและลำดับข้อมูล หมายถึง เมื่อได้ข้อมูลมาทั้งหมดให้ตัดสินใจเลือกข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดจากนั้นให้วิเคราะห์ข้อมูลซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะหากวิเคราะห์ข้อมูลไม่รอบคอบอาจเกิดความผิดพลาด ไร้ความเที่ยงธรรมได้ ส่วนการลำดับข้อมูลต้องมีการถ่ายทอดอย่างเป็นธรรม โดยเริ่มจากการร่างโครงเรื่อง (outline) ในประเด็นที่จะเขียนตามลำดับ และแต่ละย่อหน้าต้องมีเอกภาพเป็นเรื่องเดียวกัน
  7.การเขียนบทบรรณาธิการมีข้อควรระวังคือ การใช้ภาษาต้องสื่อสารอย่างเข้าใจได้ง่ายไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยเกินไป  รวมทั้งการถ่ายทอดความคิดที่เป็นระเบียบ  มีการลำดับเนื้อหาที่ดีเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการสื่อสาร แต่ขณะเดียวกันถ้าสามารถสื่อให้เข้าถึงบุคคลทุกระดับจะเป็นการดีอย่างยิ่ง


  นอกจากเรื่องที่กล่าวมาแล้วคุณสมบัติของผู้เขียนบทบรรณาธิการก็เป็นสิ่งสำคัญซึ่งผู้ที่จะเขียนบทบรรณาธิการที่ดีนั้นก็ควรมีองค์ประกอบหลายๆ อย่างค่ะ อาทิ มีความสนใจในเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวาง, ควรจะมีความสามารถในการขุดคุ้ย ค้นคว้า เจาะหาข้อมูลได้อย่างลึกซึ้ง, มีจิตสำนึกของการเป็นนักข่าวที่ดีในการวินิจฉัยข้อมูลได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรงตลอดจนรู้กลวิธีในการได้ข้อมูลที่แท้จริง, มีความสามารถในการเขียนอย่างดี, มีความเป็นธรรม และพร้อมที่จะแสดงความเห็นในสิ่งที่พบเห็นโดยมีการศึกษา พิจารณา ไตร่ตรองอย่างมีคุณธรรม เพื่อแสดงออกถึงความคิดที่มีอยู่ สามารถถ่ายทอดความคิดนั้นได้อย่างชัดเจนในเวลาอันสั้น


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการเขียนสารคดี

ขั้นตอนการเขียนสารคดี

  จุดเริ่มต้นของการเขียนสารคดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงขั้นตอนของการเขียนเสียก่อน ซึ่งจะทำให้งานเขียนเป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบผลสำเร็จในที่สุด ค่ะ ซึ่งขั้นตอนการเขียนสารคดีก็มีหลายขั้นตอน ดังนี้ค่ะ
  1.ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน  การตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญเบื้องต้นของการเขียนสารคดี ทั้งนี้เพราะการเขียนสารคดีแต่ละเรื่อง ผู้เขียนย่อมมีจุดมุ่งหมายในการเขียนแตกต่างกันออกไป เช่น สารคดีบางเรื่องมีจุดมุ่งหมายเขียนเพื่อสำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่อ่าน ทั้งนี้เมื่อสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการสื่อสารได้แล้ว ก็จะมากลั่นกรองถึงเนื้อหา ภาษา และประเด็นในการนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน เป็นต้น
  2.การเลือกเรื่อง หลังจากที่ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปก็เป็นการเลือกเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีจะมีหลักเกณฑ์ที่ต้องพิจารณา หลายประการ คือ

   2.1 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความถนัดและให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ
   2.2 เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีประสบการณ์
   2.3 เลือกเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
   2.4 เลือกเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคม กลุ่มคน
   2.5 อื่นๆ ตามที่ผู้เขียนจะพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเขียนเผยแพร่
  3. มองหาเนื้อเรื่องที่จะเขียน  บางครั้งผู้เขียนสามารถเลือกเรื่องได้แล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีเนื้อเรื่องที่จะเขียน ทั้งนี้วิธีง่ายๆ ที่จะมองหาเรื่องสำหรับการเขียนสารคดีนั้นขอให้นำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และรู้เรื่องนั้นดีที่สุดมาเขียนให้ผู้อื่นได้อ่าน
  4. การตั้งชื่อเรื่อง หลังจากได้เนื้อเรื่องมาแล้ว ให้คิดตั้งชื่อเรื่องเป็นอันดับแรก เพราะเหตุว่าชื่อเรื่องจะเป็นแนวกำหนดหรือเป็นแนวความคิดรวบยอดให้ทราบว่าเรากำลังจะเขียนสารคดีไปในแนวทางไหนซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
  5. การรวบรวมข้อมูล  เมื่อสามารถกำหนดหัวชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการเขียนสารคดี  โดยข้อมูลที่ได้มาจาก 2 แห่ง คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary source)  คือ ข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดของเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนประสบมาโดยตรง ด้วยการสนทนา สอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น  และข้อมูลทุติยะภูมิ (secondary source) คือ ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงนับว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดี
  6. การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดว่าเรื่องที่เขียนนั้นจะเขียนถึงอะไรบ้าง มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ คือ ความนำ (introduction) ต้องขึ้นต้นให้น่าสนใจ ,เนื้อเรื่อง (body or text) ต้องมีความหมายน่ารู้ น่าศึกษา สรุปเรื่อง (conclusion) ต้องตรงประเด็น
  7. การลงมือเขียน เป็นขั้นฝึกปฏิบัติด้วยการลงมือเขียน ทั้งนี้สารคดีจะน่าอ่านหรือไม่น่าอ่านนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การใช้ภาษาเป็นสำคัญ และภาษาที่ใช้ในงานเขียนสารคดีจะต้องเป็นภาษาแบบแผนซึ่งมีลักษณะ เป็นคำสุภาพ , ใช้ภาษาที่มีศักดิ์ของคำในระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาแสลงเข้ามาใช้ปะปนในงานเขียน, ไม่มีการตัดหรือลดทอนรูปประโยค, น้ำเสียงของคำจะมีลักษณะเคร่งขรึมเป็นกลาง ไม่ตลกขบขัน ไม่เยาะเย้ย ถากถาง ภาษาต้องไม่แสดงออกถึงความรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นโวหาร ยืดเยื้อ  รวมทั้งมีความเคร่งครัดและรักษามาตรฐานของภาษา

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันไดขั้นแรกสู่การเป็นนักเขียนมืออาชีพ

บันไดขั้นแรกสู่การเป็นนักเขียนมืออาชีพ 
         เคยสงสัยบางไหมคะว่าทำไมบางคนถึงทำอะไรได้แปลกใหม่และมีความคิดสร้างสรรค์ดีแท้ แต่ทำไมเราถึงทำไม่ได้อย่างนั้น  มันมาจากอะไร บันไดสู่การเป็นนักเขียนมืออาชีพ ตอนที่ 3 นี้ จึงจะเสนอให้ทราบถึง อุปสรรคที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ค่ะ
                    เพื่อนๆ รู้ไหมคะว่า สาเหตุที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถพัฒนาในทิศทางที่ดีเท่าที่ควร นั้น อาจสืบเนื่องมาจากอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นตัวขัดขวางที่คอยหยุดชะงักความคิดและถ้าจะวิเคราะห์อุปสรรคที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ อาจมีสาเหตุหลายประการ ดังนี้
  • 1. อุปสรรคทางด้านอารมณ์ บางครั้งการปล่อยให้เกิดความรู้สึกโกรธ ความอิจฉาริษยา ความกังวล อาจเป็นอุปสรรคที่ทำให้คิดอะไร ไม่ออกหรือดีเท่าที่ควร เพราะสมองมีแต่ความหมกมุ่นภายใต้อารมณ์เหล่านั้น
  • 2. อุปสรรคทางสังคม เป็นเรื่องของบุคคลที่ขาดความมั่นใจในตนเอง หรือทนไม่ได้ต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ คำติเตียนจากคนรอบข้าง และเห็นว่าสิ่งที่ตนคิด สร้าง ทำนั้นดีอยู่แล้ว
  • 3. เป็นผู้ยึดในอัตตา คือ ยึดถือความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ชอบเปรียบเทียบว่าความคิดของตนเองนั้นย่อมดีกว่าของผู้อื่น โดยจะมองข้ามข้อบกพร่องของตนเอง แต่จะหาข้อบกพร่องของผู้อื่นเสมอ
  • 4. อุปสรรคจากความกลัว เป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ ความกลัวที่ว่านี้ได้แก่ กลัวความผิดพลาด ความพ่ายแพ้ ความล้มเหลว กลัวว่าคนอื่นจะมองว่าตนเองโง่ไม่ฉลาด กลัวการหัวเราะเยาะ หรือกลัวคนอื่นมองว่าตนเองเป็นตัวประหลาดผิดมนุษย์
  • 5. อุปสรรคความเชื่อ บุคคลที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ว่าทำสิ่งใดจะไม่มีความมั่นใจเท่าที่ควร พอเจอปัญหามากระทบเพียงเล็กน้อย อาจทำให้ความคิดที่จะทำก็ต้องหยุดชะงักลงทันที เป็นผลให้ความคิดใหม่ๆ ที่ต้องการนำเสนอไม่สามารถเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนได้
  • 6. การต้องการคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว การยึดติดกับคำตอบเพียงคำตอบเดียว คงไม่สามารถที่จะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อะไรได้มากเท่าที่ควร เพราะสาเหตุว่าการมีแนวทางเลือกเพียงประการเดียวย่อมก่อผลดีน้อยกว่ามีแนวทางเลือกหลายทาง
  • 7. อุปสรรคการรับรู้ การฟังถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเกิดความคิดสร้างสรรค์ นั่นหมายความว่า ถ้าฟังมากก็จะเกิดความคิดที่หลากหลายกว่าการฟังน้อย แต่ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือเมื่อฟังแล้วควรคิดวิเคราะห์ตามไปด้วย
  • 8. การด่วนตัดสินใจในการประเมินผลความคิด เมื่อเกิดความคิดใดขึ้นให้หยุดรอและพิจารณาว่าเป็นความคิดที่สร้างสรรค์แล้วหรือไม่ และขณะเดียวกันควรจะหาความคิดเพิ่มเติม เพราะอาจจะเป็นความคิดที่สร้างสรรค์กว่าความคิดในครั้งแรก
  • 9. ไม่ชอบความโลดโผนหรือสิ่งที่ท้าทายความคิด บุคคลที่ขาดความกระตือรือร้นย่อมส่งผลให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ใดๆ ขึ้นมา ในลักษณะของความแปลกใหม่เพราะมีแต่การอยู่กับที่ไม่สนใจโลกภายนอก ทำให้มีโลกทัศน์ที่แคบ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการพัฒนาทางความคิดของสมองก็จะไม่ได้รับการกระตุ้นแต่อย่างใด
  • 10. การจำกัดความคิด บุคคลที่มักจำกัดความคิดของตนเองด้วยการวางกรอบจะทำให้กระบวนการทางความคิดไม่เกิดขึ้น มีแต่ความคิดที่ซ้ำซาก

        
            เห็นไหมคะว่าจากที่กล่าวมาทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งของอุปสรรคทางความคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้จะหมดไปได้ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ ว่าพร้อมที่จะรับการแก้ไข ปรับปรุงให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มารู้จักบทบรรณาธิการให้เพิ่มขึ้นกันดีกว่า

มารู้จักบทบรรณาธิการให้เพิ่มขึ้นกันดีกว่า
   สวัสดีค่ะ  ท่านผู้อ่านที่รักทุกคน  มาแล้วค่ะ  มาพร้อมกับเรื่องราว  สาระดีมีประโยชน์  ที่นี่ที่เดียว  ไม่ใช่โฆษณาขายของนะคะ  แต่เป็นความตั้งใจที่อยากให้แต่สิ่งดีๆ กับคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ  ครั้งที่แล้วผู้เขียนได้เสนอเรื่องราวความรู้เล็ก ๆ น้อยๆ เกี่ยวกับบทบรรณาธิการไปบ้างแล้ว  ครั้งนี้เลยขอเพิ่มเติมความรู้กันหน่อยนะคะ  ก็อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่าบทบรรณาธิการมีความสำคัญต่อผู้อ่าน  และก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้เขียนด้วยว่าต้องการนำเสนออะไร  เพื่อใคร  ดังนั้นเราจึ้งต้องทราบถึงบทบาทและหน้าที่ที่ดีของผู้เขียนบทบรรณาธิการก่อนนะคะว่าเป็นอย่างไร
1. บทบาทของบรรณาธิการ
 1.1  เป็นแหล่งอุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  วารสาร  ในการชี้นำสังคม
 1.2  เปิดโอกาสให้ประชาชนโต้แย้งถกเถียงได้ตามบรรยากาศประชาธิปไตย
 1.3  เป็นตัวแทนในการลำดับความสำคัญของเหตุการณ์  ที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยการสร้างความเข้าใจ  ขจัดความสับสนจากการรายงานข่าวต่าง ๆ ในสังคม
 1.4  ช่วยทำให้ผู้อ่านทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวอย่างละเอียด
 1.5   เป็นผู้ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม   ปกป้องเสรีภาพของประชาชน
 1.6  กระตุ้น  ปลูกฝังให้มีการแสดงออกในทรรศนะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความหนักแน่น  ในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง
2.  หน้าที่ของบรรณาธิการ
  2.1  เป็นสื่อในการแสดงออกโดยมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสังคม
  2.2  ช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
  2.3  เป็นส่วนช่วยสร้างความสมดุลในการรายงานข่าว
  2.4  เป็นแหล่งที่สามารถช่วยยกระดับความรู้  ความคิดของผู้อ่าน
  2.5  เป็นผู้นำทางความคิด  และเป็นสื่อกลางของสังคม
  2.6  เป็นผู้ทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับสื่อมวลชน  ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
 หลังจากที่เพื่อน ๆ ได้อ่านบทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการไปกันแล้ว  รู้สึกว่ายิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อสังคมไทยมากเลยใช่มั้ยคะ  พิมพ์อักษรก็รู้สึกแบบนั้นเหมือนกันค่ะ  แต่ก็ดีนะคะทำให้เรารู้สึกภูมิใจจังเลย  ว่าถ้าเราได้มีหน้าที่เขียนบทบรรณาธิการก็คงจะดีมากเลย  เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะได้มีหน้าที่เขียนบทบรรณาธิการ  เราก็ต้องเริ่มฝึกให้เก่งกันตั้งแต่วันนี้เลยเป็นไงค่ะ  งั้นผู้เขียนขอเพิ่มเติมข้อมูลบางอย่างสำหรับวันนี้นะคะ  ก็คือลักษณะบทบรรณาธิการที่ดีนั้นต้อง

1.  ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต้องมีความถูกต้องและชัดเจน
 2.  เรื่องที่เขียนควรอยู่ในกระแสหรือเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป
 3.  เนื้อหาสาระต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
 4.  มีเหตุผลสนับสนุนน่าเชื่อถือ
 5.  เขียนด้วยความเป็นกลาง  ไม่ลำเอียง  เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
 6.  ใช้ภาษาที่สุภาพ 
 7.  มีวัตถุประสงค์การเขียนที่ชัดเจน
 8.  มีการแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง  ไม่ขาดตอน
 นี่ล่ะค่ะเพื่อน ๆ คือลักษณะของการเขียนบทบรรณาธิการที่ดี  หวังว่าคงไม่ยากเกินความสามารถนะคะ  ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนเริ่มหัดเขียนและเขียนให้สนุกนะคะ  ไปแล้วค่ะ

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

Exclusive: Inside the Mind of a Legal Interpreter

12 December 2009

Interviewer: Pattaya Daily News
Legal Interpreter: Warina  Punyawan



Often people wonder how Thai court cases are decided, time and again we see minor or none existent charges going to court, where there is often a decidedly negative outcome. As you may be aware PDN have assisted in a variety of cases over the years, with an outstanding success record to date.


None of these positive outcomes could have been achieved without the aid of PDN’s professional interpreter, who has worked closely with the same honest and reputable Thai lawyer for many years. The negative press that appears in the media in regards to the Thai judicial system is largely warranted; however it is PDN’s experience that with the aid of a good legal team and a strong argument, the chances of success are no better or worse than in any other country in the world. But it is clear that once involved in the judicial proceedings of a foreign country, acquiring the means to communicate accurately and clearly must be the highest priority. As in any other culture, Thai magistrates do not consider ignorance an excuse.
The following is a brief interview conducted with PDN’s interpreter, where we discover what it is like to work in the midst of the Thai judicial system, attempting to achieve a successful outcome, at times against extreme prejudice and corruption.

Do you ever get frustrated or disappointed when you’re assisting foreigners with their legal battles?

Yes! Many times – actually, all the cases. Have you ever imagined what it would be like to be the victim of a crime, or be accused of committing a crime? You don’t speak Thai, you don’t understand the legal system, and you’re trying to communicate as best you can with lawyers and police. Sounds like a nightmare. Once you have hired a lawyer, you seem to expect your lawyer or your interpreter to answer your phone, spare time for you 24 hrs, so this is what I call a “Nightmare” for me.


The reasons I get frustrated are:
1. The foreigner [involved in the case] hasn’t studied Thai law and even, in some cases, shows complete ignorance of the law in their own country. So they don’t know the procedures. They expect everything to be done quickly. They’re not aware that Pattaya is the busiest court in Thailand handling a large variety of foreign nationals. I also have to make sure that I don’t translate or explain to them incorrectly. For example, there were three different interpretations of the same thing; like when you say “I dont care” it has a much more aggressive meaning in Thai.
2. Our lawyer doesn’t speak any English at all, so most of the time they have to rely on the skill of the interpreter – which is me! Also, contrary to the generally accepted image, our lawyer is a relaxed character, who smiles a lot and is always polite. He is one of the best lawyers I have ever worked with. Sometimes his explanations to me, particularly on points of law, are not enough to convey the full meaning to our clients so I have had to learn to trust him – and so far so good.
3. The foreign clients fail to respect the rules of the court. On so many occasions I’ve had to tell them not to their cross legs, not to laugh or smile when they’re supposed to be sad, not to ask sarcastic questions, not to speak out of turn, not to try and educate the lawyer or the judge and, most importantly, not to act like some big shot farang.


Why don’t you work with an English speaking lawyer?
Because then they don’t need me. There are good and bad lawyers everywhere in the world. Many of those lawyers operating in Thailand who are fluent in English call themselves professional but have no idea of how the courts work. In Pattaya, there are many foreign victims who have heard about all the bad things that can happen to innocent people.
So if they are involved in a case and they have money, they just go straight to the so called “professionals” and they don’t mind paying a fortune, even if they don’t win the case.
The professional lawyer will manage to come up with a nice apology and sometimes persuade the client to continue the case at a higher level even though they know they will lose anyway.
I’m not saying there are no good lawyers in Pattaya. They do exist. The same goes for the court judges in Pattaya and Chonburi but it’s unfortunate we can’t publish the names of those who have shown genuine professionalism and integrity.

So you prefer to work with good lawyers who are smart, honest and dedicated to their work but don’t speak English, why?
Because at least then it’s easier for me to see if he’s greedy, over charges or unnecessarily prolongs the case just to make more money. He has to work with me as a team and he knows that I can never support such malpractices because my intention is to prove to foreigners that our Thai justice system is not that bad. There isn’t corruption everywhere all the time as is the general opinion. I think often the problem is all to do with poor communication.

Is your prime motive as an interpreter to make money?
No, not intentionally, just coincidentally through my routine job as the owner and Editor of PDN. I try to improve on my work each day. I’d had enough of reporting the same things over and over again every year. All of our news comes from the same group of Thai reporters and we are all friends [except ones that they might not like us much because we upload news late and they cannot copy on time!]

I, myself have been cheated in a few cases and received unfair and bad treatment from the police and government officers just like every decent Thai who tries to survive in this town. I have been teaching English to Thais and vice versa. I have also become aware of the corruption and monopoly systems in this town, not to mention Thailand as a whole.

For example, I see poor people who rely on the tourist industry for their survival suffering each day. The rich and the powerful don’t seem to care. They just want to make as much money as fast as they can, including foreign investors.
The difference between locals and the visitors is that the visitors can leave anytime they choose, just as many are doing now, fed up with our political unrest, perceived high crime rate, corruption, global economics, gangsters, mafia, and whatever other problems there are. The investors are marching out of Thailand or Pattaya, that’s what we’re hearing now but I can see it from another point of view and I’m sure one day things will get better for Pattaya IF the officials spare more time to fix the really serious problems rather than spending so many resources on trying to promote the city like they are doing now.

I have changed my attitude a lot since helping people in the court. I am proud to say that we do have generous and fair judges.

In the recent case with Barry, the female judge presiding was so straight and independent. She gave him a lot of opportunity to talk and even act out the events in his case even though most of it was irrelevant. I think she allowed it because she seemed to know that he was angry and disappointed. She calmly and patiently listened to him and I had to tell her I had to translate every word and act like him as well. She tried to hold her smile and said “okay, no need, I understand, tell him that the story he just told has nothing to do with the case so it won’t go on record.”

For me it has often been just like the “chicken and the egg.” Sometimes I don’t know what I should do first. My priorities are changing every day. Sometimes I have to drop my routine job and rush to interview a subject more interesting to me even though it won’t be published, but that’s just my nature.

These cases all involve a lot of running around but I also have to pay my bills too! Our income comes from our sponsors who have been growing in number each year. My lawyer normally charges a very reasonable fee by Thai standards. Barry nearly paid a lawyer in Bangkok 2 million baht after paying his first lawyer 200,000 baht up front, none of which was returned to him. We charged him only 100,000 baht. So it’s not about money, you know. Though I can’t say it’s for fun, either. These cases can involve a lot of homework and searching for and researching information. This incurs cost, both in time and effort, and at times we put ourselves at risk, so I suppose it’s only fair we should receive some funds for what we do.

The case of "Barry And The Plastic Knife" How did you meet Barry?

He sent me an Email and his long story 

What did you think about his first Email?
I didn’t like it. Actually I forwarded it to one of my editors to correspond with him. He suggested in his email that he would be doing us a favor by letting us publish his story. Things may work that way in his home country, but not here. He even said in the mail that “we will let you publish my story for free, we won’t charge you for it!”


So why you decided to take his case?
It was interesting and I had a feeling Barry had something to hide and wasn’t telling me the whole truth.


After I looked at the documents and listened to the whole story and observed his acting showing me how it all happened, we then decided to have a meeting with my lawyer, who lives in Bangkok, on the next day in my office.
The lawyer read through the entire document and said immediately “easy case, take it!”
I couldn’t really tell Barry exactly what the lawyer said because he would shake his head and ask too many questions. I know I would run out of patience if I had to carefully explain to him. I just told Barry and his wife that we have never lost a case so far, not because we are that good or we have connections but because we only choose cases which we have more than an 80% chance of winning. In his case, he had been wrongly charged, which we cannot criticize here as it was due to his first lawyer. So Barry sent me all the emails of correspondence with his lawyer and I could see that there were some communication errors which had made Barry so frustrated.

What were the specific difficulties with this case?
1.Barry didn’t believe or trust us 100%. He expected us to report to him everyday what we were doing in his case, which is impossible. We had studied his case, and the main point was that we saw that we could win.
2. The original translation by his wife was good but we knew that the truth about what happened may be not useful in court. It was also difficult for me to tell him the judge would not take into account his background.
3. The strange thing was that Barry re-shaped the knife. He made it look different from the original pictures taken by his first lawyer. Even now, I don’t understand why he did this, but my lawyer said it didn’t matter. All we had to do was prove it wasn’t a case of attempted murder.
4. Most of the time they were expecting me to act like a machine, translating Thai into English word for word, both accurately and quickly without any breaks or problems “that’s just not the way it works.” I know if I get it wrong the consequences could be enormous on Barry’s life, this is why I had to handle every question and response with great delicacy. If such care is not taken in every case an innocently accused person might be found guilty, or a criminal might escape conviction. For example; Barry was asked a question by the prosecutor, which I interpreted for him. In a roundabout way he began to answer; however his answer was not directly in response to the question. I proceeded to whisper to him, “That’s not what they asked you,” before I interpreted only the relevant details back to the prosecution. Although it was the wrong thing to do, I was confident of Barry’s innocence and that he was aware that I was trying to present his case in the clearest possible way.

I chose not to publish his two part articles on PDN into Thai because it may affect his case. However, working with Barry was interesting. We turned out to be friends, especially with his wife Bee. I will join her for her next meditation. I would also like to thank Allan, Barry’s friend, who turned up to be his witness and also Bee – she did a pretty good job describing her husband’s character which almost made us burst out laughing in the court! And our goddess, the judge, my favourite judge, I owe her a bunch of flowers.

The most important thing that I must mention here is thank you both, Barry and Bee, for sticking with us till the end to prove that Thai justice is not that bad. You were good fighters and chose to do the right thing. I know of so many cases where the Thai wives have told their Farang husbands to give up and pay money under the table to drop the case.

Barry has now been found innocent and is free, but he has a record of assault and was fined 3750 baht. The judge did ask me to tell him : “Next time, don’t try to solve the problem yourself. You must inform the police.”


-------------------------------------------------------------------------------------
Allan’s case [ One Mans Crusade for Justice ]

How did you meet him?
By email.


Why did you decide to help him?
He had all the documents to back up his case. Each time I interviewed him, he never changed his story.
His lawyer could not communicate with him and also he [the lawyer] admitted that he was afraid of Mr. H [Allan’s defendant]

What were the specific difficulties with this  case?
1. It involved government officials and powerful people within the Pattaya community. I’m sure that there are many brave interpreters here in Thailand, who are aware of the dangerous positions that we put ourselves in at times. In some cases these positions could be life-threatening, when the other members of the community around us don’t in fact understand what our role is.
2. After I started to get involved, I had to run around alone – I put “alone” here delibrately – in Pattaya to find more information while Allan did likewise in Bangkok. Okay, by doing that he did help quite a lot, but also it was quite risky to spread his plan around, which made me get even more frustrated.
3. He had 8 months to arrange a new lawyer but he didn’t contact me except to keep posting comments on the similar cases we were reporting in PDN, intending to inform the readers that he was facing big corrupted officials or mafia in the court case in Pattaya. The more he posted the more he put people off because it became tedious and nobody really cared to help anymore. This also included the likes of the DSI, the ministry of transportation, the previous Chonburi governor, etc. Everyone was busy and his case was never the first thing on their priorities anyway.

So what’s the situation now?
On the 3rd December, his previous lawyer had dropped the case and we found out that the case was actually out of date. I knew he was working in collusion with someone else, whose name I can’t mention here. But the judge was very understanding and wondered why the lawyer would do that. He said it wasn’t fair, so the judge let the case be postponed until May 2010. Allan now has a Thai lawyer friend who has volunteered to help him.

After the court, during our lunch, I talked to his new lawyer and we both knew his chances of winning were very slim. So I decided to take Allan to the Pattaya City Mayor’s office that afternoon.

This time, I called my reporter friends from all the national newspapers in Bangkok telling them that Allan would be holding a press conference about his court case related to the boat accident and the loss of his brother. Also, we had coincidentally reported about another boat accident 2 days before.

That afternoon, in Khun Ronnakit Ekasingse, the deputy mayor’s office, we printed out Allan’s stories both in Thai and English and took a video tape of his interview. I had noticed that none of those officers were interested in reading the one in English which was quite strongly worded. They had a quick look at the Thai version which contained some photos of the involved people.

We had to explain through many officials [ his secretaries, many involved deputy mayors including Mr. Sanit Boonmachai] and finally Khun Ittipon sat down casually to listen to us. Allan’s story had actually never been sent to the Mayor. Khun Ittiphol asked me, ”I have never heard this before, who is Mr. H, what does H stand for?

I was really impressed to see his eyes gently looking at Allan and asked him some warm questions as to what he could do to help. I told him that 400,000 baht is nothing for Mr. H, but if he feels it’s too much, somehow the city or an organization must share the responsibilities.

Khun Ittipon promised us that within one week he would get back to us!
And I loved when he told us, “No one can be above the law!!
We left the city hall with hope.



One Mans Crusade for Justice

Finally Minor Recompense in Allan’s Continual Fight for Justice