ดิน แดนแห่งชายหาดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งหลายสิบปีที่ผ่านมาเปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้หลั่งไหลแวะเวียนไม่ขาดสายทั้งปี ชื่อเสียงของ “พัทยา” คือแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่อันดับต้นๆ ไม่ว่าใครมาถึงประเทศไทยก็ต้องถามหา
เฉพาะชาวต่างประเทศที่เข้ามากว่า 5 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ 6.8 หมื่นล้านบาท ทำให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ “อพท.” เล็งเห็นโอกาสในการพลิกโฉมเมืองพัทยาให้ก้าวสู่ระดับโลก
จนเป็นที่มาของโครงการ “สานฝันเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงพลิกโฉมสู่เมืองท่องเที่ยวระดับโลก “The World Class Greenovative Tourism City”
โดยร่างแผนแม่บทการบริหาร ได้ผ่านการอนุมัติในหลักจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2554 ในวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท
พ.อ.ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผอ.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) กล่าวถึง ความคืบหน้าในการดำเนินการแผนแม่บทการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา และพื้นที่เชื่อมโยง โดย อพท.ได้เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการตามที่มีรายละเอียดของกิจกรรมโครงการ และงบประมาณรายงานโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จราวกลางเดือน ก.ย.2554
“โดย ที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวแผนแม่บทการบริหารฯ ตลอดจนเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของเมืองพัทยา สู่การเป็นเมืองน่าอยู่ น่าท่องเที่ยวระดับโลก ในวันที่ 24 ส.ค. 2554 ณ โรงแรม เดอะ ซายน์ (The Zign) เมือง พัทยา ซึ่งในงานดังกล่าวเปิดโอกาสให้องค์กรภาคีเครือข่าย เช่น สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเมืองพัทยา ตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยท่องเที่ยวและกีฬา จ.ชลบุรี รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ใน จ.ชลบุรี แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่” ผอ.อพท. กล่าว
พ.อ.ดร. นาฬิกอติภัค ยังกล่าวอีกว่า แผนแม่บทพัฒนาได้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยกำหนดกรอบแนวคิด และจัดให้มีการประชุมชี้แจง แนะนำ รับฟังความคิดเห็น จัดประชุมกลุ่มย่อย ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำร่างแผนแม่บทฯ ตอบสนองการแก้ไขปัญหาหลักของเมืองพัทยา ได้แก่ ปัญหาการจราจร น้ำท่วมในถนนสุขุมวิท การขาดแคลนน้ำดิบ ระบบประปาเข้าไม่ถึงชุมชนขนาดใหญ่ การจัดการขยะมูลฝอย และการจัดการน้ำเสีย เป็นต้น
“ตามแผนแม่บทนี้คาดว่าอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5 ล้านคนเป็น 10 ล้านคน เพิ่มระยะพำนักจาก 3.57 วัน เป็น 4.57 วันนักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านคน เป็น 4.2 ล้านคน เพิ่มเวลาพำนักจาก 2.48 วัน เป็น 4.03 วัน รวมแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 68,000 ล้านบาท เป็น 3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการสร้างโอกาส สร้างงาน และรายได้ให้แก่ชาวเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง” พ.อ.นาฬิกอติภัค กล่าว
ทั้งนี้ พ.อ.ดร.นาฬิกอติภัค ย้อนถึงความเป็นมาของโครงการพัฒนาฯ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 23 พ.ค.2551 ขณะ นั้นเมืองพัทยาได้มีหนังสือแสดงความจำนงมายัง อพท.ขอให้ประกาศพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง เพื่อเป็นหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการบูรณาการเพื่อการพัฒนา แก้ไขปัญหาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
รวม ไปถึงการดูแลอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว การยกระดับคุณภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การสร้างกิจกรรมและพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ให้มีมาตรฐานระดับ สากล จุดมุ่งหมายคือ ให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ต่อมา ครม.ได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2552 ให้ความเห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง ครอบคลุมพื้นที่ 928.47 ตารางกิโลเมตร หรือ 580,293.75 ไร่
ประกอบด้วย 1.เมืองพัทยา (ครอบคลุมพื้นที่เกาะล้านและเกาะไผ่) 2.เทศบาลเมืองหนองปรือ 3.เทศบาลตำบลบางละมุง 4.เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย 5.เทศบาลตำบลโป่ง 6.เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ 7.เทศบาลตำบลนาจอมเทียน 8.องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล และ 9.องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว
นอก จากนี้จะประกาศพื้นที่พิเศษเพิ่มเติมในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลนาจอมเทียน หรืออาจเปลี่ยนชื่อเป็นเทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ในอนาคต จะทำให้มีพื้นที่รวม 949.47 ตารางกิโลเมตร หรือ 593,418.75 ไร่
ด้านนายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองพัทยา กล่าวถึงกรอบดำเนินการตามแผนแม่บท ว่า ประกอบด้วยแผนงานจำนวน 132 โครงการ วงเงินรวม 15,007.36 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (2555-2565) ซึ่งที่ผ่านมา อพท.ได้ประสานกับเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ จัดทำงบประมาณพัฒนาตามแผนแม่บทฯ ในปี 2555 จำนวน 34 โครงการ วงเงิน 646.7 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นเมืองพัทยา 13 โครงการ วงเงิน 253.7 ล้านบาท ส่วนพื้นที่เชื่อมโยง 21 โครงการ วงเงิน 393 ล้าน บาท เพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณในแผนแม่บทเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง ปรับแก้ไขในระยะเวลาช่วงแรกของการเปิดประชุม ครม. ซึ่งในแผนแม่บทมีแนวทางปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเมืองพัทยา และสิ่งอำนวยความสะดวกภายใต้นิยามเมืองท่องเที่ยวแห่งนวัตกรรมที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม (The World Class Greenovative Tourism City)
ทั้งนี้แผนดำเนินโครงการฯ ทั้งหมดประกอบด้วย
1) การ พัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการจราจร ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างทางลอดทางแยกถนนสุขุมวิท ถนนเชื่อมมอเตอร์เวย์ รถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก (Shuttle Bus) เชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายสุวรรณภูมิ-พัทยา-มาบตาพุด และท่าเทียบเรือเมืองพัทยา-เกาะล้าน รวมโครงการพัฒนา 12 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ 4,793.5 ล้านบาท
2) การ ฟื้นฟูและสร้างระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยว ได้แก่ การขยายระบบน้ำประปา ระบบการระบายน้ำป้องกันน้ำท่วม ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย การก่อสร้างโรงคัดแยกและศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการศึกษาเพื่อการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่มีนวัตกรรมสีเขียว
อาทิ โครงการศึกษาการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลด้วยระบบ Reverse Osmosis และโครงการศึกษาการใช้พลังงานทดแทน รวมโครงการพัฒนา 14 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ 3,398.348 ล้านบาท
3) การ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่เมืองพัทยาและถนนเชื่อมโยง ประกอบด้วยโครงการพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูชายหาดเมืองพัทยา โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลาดเก่านาเกลือโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงในพื้นที่ต่างๆ จำนวน 4 เส้นทาง คือ
3.1 เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน เริ่มต้นที่วัดหนองเกตุใหญ่มุ่งสู่ทิศใต้ ไปสิ้นสุดที่บ้านอำเภอ
3.2 เส้นทางวิถีชุมชนและศาสนา เริ่มจากวัดท่ากระดาน ไปทางทิศตะวันออก ไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำห้วยลึก
3.3 เส้นทางวิถีชุมชนและวัฒนธรรม เริ่มจากหมู่บ้านชาวประมง นาเกลือลงไปทางทิศใต้ ไปสิ้นสุดที่ชุมชนชากแง้วและบ้านอำเภอ
4) เป็น เส้นทางเพื่อการศึกษาธรรมชาติ ดำน้ำดูปะการัง เกาะล้าน เกาะไผ่ ซึ่งแต่ละเส้นทางจะผ่านทั้งพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง เป็นการกระจายนักท่องเที่ยวไปในพื้นที่เชื่อมโยง สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา ศึกษากิจกรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการใช้จ่ายซื้อผลิตภัณฑ์ของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีโครงการศึกษาการปรับปรุงกฎหมายเขตสถานบริการ รวมโครงการต่างๆ จำนวน 16 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ 2,733 ล้านบาท
5) การพัฒนาในพื้นที่เชื่อมโยงทั้ง 9 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการกระจายนักท่องเที่ยวไปสู่พื้นที่เชื่อมโยง โดยจัดทำโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่เชื่อมโยงทั้ง 9 แห่ง รวมถึงเกาะล้าน และเกาะไผ่ ประกอบด้วย โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม การปรับปรุงสภาพถนน เส้นทางจักรยาน ไฟส่องสว่าง ป้ายบอกทางการจราจร ป้ายแสดงแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาจุดชมวิว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การส่งเสริมการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพของเมืองพัทยา มีโครงการต่างๆ จำนวน 90 โครงการ รวมเป็นเงินงบประมาณ 4,082.512 ล้านบาท
น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า พัทยาจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่น่าตื่นตาเพียงใด
สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น